วันเสาร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2557

สรุปความลับอากาศ

 ความลับของอากาศ



         อากาศคือ  ส่วนผสมของก๊าซต่าง ๆ  และไอน้ำซึ่งส่วนใหญ่ได้แก่  ก๊าซไนโตรเจน และก๊าซออกซิเจน  นอกนั้นเป็นก๊าซอื่น ๆ  ซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนน้อย  อากาศมีอยู่รอบ ๆ  ตัวเราทุกหนทุกแห่ง  ทั้งบนยอดสูงสุดของภูเขาและในที่จอดรถใต้ดิน  อากาศมีอยู่ในบ้าน  มีอยู่ในโรงเรียนและในรถยนต์  อากาศไม่มีสี  ไม่มีรสชาติ และไม่มีกลิ่น 
         อากาศจะทำให้เกิดลม เพราะลมก็คืออากาศที่เคลื่อนที่ได้ บนโลกของเราจะมีลมเกิดขึ้นตลอดเวลา ขึ้นอยู่กับว่าในแต่ลพื้นที่จะร้อนและเย็นต่างกันแค่ไหน ลมสามารถเปลี่ยนไปตามทิศททางของวัตถุที่มากีดขวาง
               มนุษย์มีการนำเรื่องของหลักการแรงดันอากาศมาใช้ในชีวิตประจำวัน เช่นการใช้หลอดูด การผลิตเครื่องบิน และในอากาศร้อนจะมีแรงดันน้อยกว่าอากาศเย็น อากาศที่เคลื่อนที่ก็จะมีแรงดันน้อยกว่าอากาศที่อยู่นิ่งๆ แรงต้านของอากาศจะเกิดเมื่อมีวัตถุเคลื่อนที่ โดยมนุษย์นำเรื่องแรงต้านมาใช้ในเรื่องการกระโดดร่มให้ถึงพื้นช้า  
   


วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 16

บันทึกอนุทิน

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย(EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  4 ธันวาคม 2557
ครั้งที่ 16   กลุ่มเรียน 101

ความรู้ที่ได้รับ
การนำเสนอวิจัยคนสุดท้าย

   ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการทดลอง
 ขั้นนำ
    1.ให้เด็กหาพื้นที่ให้กับตัวเอง
    2. จัดเด็กเป็นกลุ่มกลุ่มละ 5 คน
ขั้นสอน
    1.เด็กๆสังเกตไข่2ฟอง ใบหนึ่งไข่สุก อีกใบหนึ่งไข่ดิบ
    2.เปรียบเทียบไข่ 2ฟองว่าแตกต่างกันอย่างไร
    3.น าไข่ทั้ง 2ฟองไปตั้งที่พื้นแล้วทดลองหมุนไข่
    4.สังเกตความแตกต่างแล้วบันทึก
ขั้นสรุป
    1.เด็กและครูสรุปร่วมกันเกี่ยวกับไข่หมุน

กิจกรรมต่อมา
 แบ่งกลุ่มออกเป็น 5 คนโดยให้ระดมความความคิดที่ทำแผ่นพับเพื่อประชาสัมพันธ์ผู้ปกครอง เพื่อชี้แจงในการสอนเหน่วย ไก่ เพื่อให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในกาเรียน
   โดยแผ่นพับจะมีข้อมูลดังต่อไปนี้
   ส่วนด้านนอก ชื่อหน่วย, ชื่อของเด็ก ชื่อครูผู้สอน  และชื่อเรื่องที่ใช้ประชาสัมพันธ์ต้องมีความน่าสนใจ
     สมาชิกกลุ่ม  และเป็นเกมที่ผู้ปกครองสามารถใช้กับลูกได้ เช่น เกมภาพตัดต่อ เกมภาพเงา เกมจับคู่ เป็นต้น

ส่วนด้านนอก


ส่วนด้านใน
    เป็นข่าวประชาสัมพันธ์ วัตถุประสงค์ต่างๆ   สาระการเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์  และเพลง คำคล้องจองให้เด็กเกิดการเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น

ส่วนด้านใน

เทคนิคการสอน 
    ทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง
    การสรุปความรู้ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง
    การบูรณาการวิทยาศาสตร์ให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย
    การถ่ายทอดความรู้ผ่านสื่อ
    การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับผู้ปกครอง

การประเมิน
     ประเมินตนเอง
        มีความพร้อมในการเรียน แต่งตัวเรียบร้อยถูกระเบียบ ตั้งใจฟังอาจารย์เป็นอย่างดี มีการแสดงความคิดเห็นร่วมกับอาจารย์
     ประเมินเพื่อน
       เพื่อนตั้งใจเรียนเป็นอย่างดี มีส่วร่วมในการคิดออกแบบแผ่นผับทุกคน มีความสามัคคี
     ประเมินอาจารย์
       อาจารย์มีการเตรียมการสอนเป็นอย่างดี  มีการให้คำแนะนำต่างๆในการวางแผนงานได้อย่างเหมาะสม   แต่งกายสุภาพเรียบร้อย



วันเสาร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 15

บันทึกอนุทิน

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย(EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  27 พฤศจิกายน 2557
ครั้งที่ 15   กลุ่มเรียน 101

ความรู้ที่ได้รับ 


    การนำเสนอวิจัย ดังนี้ 
เรื่องที่ 1. การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ทักษะวิทยาศาสตร์
- การสังเกต
- การจำเเนก
- การวัด
- การหามิติสัมพันธ์
เรื่องที่ 2  ผลของการจัดประสบการณ์หน่วยวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียนที่มีผลต่อทักษะการสังเกตของเด็กปฐมวัย
      ทักษะวิทยยาศาสตร์
- การสังเกต
- การกะประมาณ
- การเปลี่ยนเเปลง
เรื่องที่ 3 การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
   ทักษะวิทยาศสตร์
- การจำเเนกประเภท
- การจัดประเภท
- อนุกรม 
เรื่องที่ 4 ผลของกิจกรรมการทดลองที่มีต่อทักษะวิทยาศาสตร์ด้านการสังเกตและการจำแนกของเด็กปฐมวัยโดยใช้การทดลอง
   ทักษะวิทยาศสตร์
- การสังเกต
- การจำเเนก
- การเเบ่งปริมาตร
- การสื่อความหมาย
- การหามิติสัมพันธ์
- การลงความเห็น

การนำเสนอโทรทัศน์ครู
  1.จุดประกายนักซิทยาศาสตร์น้อย ตอนเสียงมาจากไหน
การทดลอง>> ไก่กระต๊าก
  2. สอนวิทย์ คิดสนุกกับเด็กปฐมวัย
  3. อนุบาล เรียนวิทยาศาสตร์สนุก
  4. กิจกรรมเรือสะเทินน้ำ สะเทินบก
  5. สัปดาห์วิทยาศาสตร์
  6. ขวดปั๊ม และลิปเทียน
  7. สื่อเเสงเเสนสนุก
  8. วิทยาสาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ตอนพลังจิต คิดไม่ซื่อ
  9. ทะเลฟองสีรุ้ง
 10. สาดสีสุดสนุก
 11. ทอนาโดมหาภัย
 12. ไข่ในน้ำ
 13. ความลับของใบบัว


เทคนิคการสอน 
    ทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง
    การสรุปความรู้ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง
    การบูรณาการวิทยาศาสตร์ให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย 
    รูปแบบการนำเสนองานอย่างถูกต้อง
    การแสดงออกทางความคิดอย่างเหมาะสม

การประเมิน
     ประเมินตนเอง
        มีความพร้อมในการเรียน แต่งตัวเรียบร้อยถูกระเบียบ ตั้งใจฟังอาจารย์เป็นอย่างดี มีการแสดงความคิดเห็นร่วมกับอาจารย์
     ประเมินเพื่อน
       เพื่อนตั้งใจเรียนเป็นอย่างดี มีการเตรียมการนำเสนอวิจัยและโทรทัศน์ครูเป็นอย่างดี
     ประเมินอาจารย์
       อาจารย์มีการเตรียมการสอนเป็นอย่างดี แต่งกายสุภาพเรียบร้อย

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 14

บันทึกอนุทิน

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย(EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  20 พฤศจิกายน 2557
ครั้งที่ 14   กลุ่มเรียน 101

ความรู้ที่ได้รับ
   วันนี้แบ่งประเภทของสื่อของเล่นวิทยาศาสตร์ ได้แก่
       1.การเกิดเสียง (The noise)
      

     2. แรงลม/อากาศ(The pessure / air)


     3. จุดศูนย์ถ่วง(The center of grevity)
    

    4. พลังงาน(Use of power)
   

     5. จัดเข้ามุม(Prepare for the Day)


    6. แรงดันน้ำ (The use of water presure)

กิจกรรมต่อมา การนำเสนอวิจัย ดังนี้


      เครื่งมือที่ใช้   แผนการจัดศิลปะสร้างสรรค์
                           1. ศิลปะย้ำ
                           2. ศิลปะปรับภาพ
                           3. ศิลปะเลียนแบบ
                           4. ศิลปะบูรณาการ
                           5. ศิลปะค้นหา
                           แบบวัดทักษะทางวิทยาศาสตร์
      ทักษะทางวิทยาศาสตร์
                            •ทักษะการสังเกต
                            •ทักษะการจําแนกประเภท
                            •ทักษะการสื่อความหมายข้อมูล
                            •ทักษะการลงความเห็น
                            •ทักษะมิติสัมพันธ์

        เรื่องที่ 2 ผลของการบันทึกประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่มีความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย
                   
         เครื่งมือที่ใช้   - แผนการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ประกอบการบันทึก

                               - แบบทดสอบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์

         ทักษะทางวิทยาศาสตร์  การมองเห็น/เข้าใจความสัมพันธ์ของวัตถุ

         เรื่องที่ 3 ผลของการจัดประสบการณ์โดยใช้กระบวนการเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนาทักษะการจำแนกของเด็กปฐมวัย
        
            เครื่งมือที่ใช้   - แผนการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์

                                  - แบบทดสอบวัดทักษะการจำแนก
             ทักษะทางวิทยาศาสตร์  
                            •ทักษะการเรียงลำดับ
                            •ทักษะการจัดกลุ่ม
                            •ทักษะการหาความสัมพันธ์
                            •ทักษะการเปรียบเทียบความเหมือน ความต่าง

           เรื่องที่ 4 ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับประสบการณ์จากการใช้กิจกรรมมุ่งเน้นทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และการเล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน
                 เครื่งมือที่ใช้   - แผนการจัดประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์

                                      - แผนการจัดประสบการณ์เล่นตามมุมวิทยาศาสตร์อย่างมีแบบแผน
                 ทักษะทางวิทยาศาสตร์  
                            •ทักษะการสังเกต
                            •ทักษะการจําแนกประเภท
                            •ทักษะการสื่อความหมายข้อมูล
                            •ทักษะการลงความเห็น
                            •ทักษะมิติสัมพันธ์
                            •ทักษะการแสดงปริมาณ
                            •ทักษะการเปรียบเทียบ
                         
กิจกรรม Cooking วอฟเฟิล
   โดบการแบ่งกลุ่มออกเป็น 6 กลุ่มเท่าๆกัน จากนั้นให้ตัวแทนไปรับอุปกรณ์ที่อาจารย์ได้จัดไว้ให้ โดยให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรม
    วัสดุอุปกรณ์มีดังนี้
      1. ไข่ไก่(egg)
      2. เนย(Butter)
      3. แป้ง(powder)
      4. น้ำ(water)
      5. ถ้วย(cup)
      6. ช้อน(spoon)

ขั้นตอนการทำ
  - เริ่มผสมแป้ง และตอกไข่ ใส่เนย เติมน้ำทีละนิด แล้วตีแป้งและส่วนประกอบอื่นๆให้เข้ากันจนได้เนื้อแป้งที่ไม่เหลวและแข็งจนเกินไป
  - เมื่อได้แป้งตามที่ต้องการตักใส่ถ้วยตวงเพื่อนำไปอบ ขณะที่เทแป้งลงเครื่องอบ ควรเทตรงกลางเพื่อให้แป้งสามารถกระจายได้ทั่ว เมื่ออบเสร็จแล้วจะได้วอฟเฟิลน่าตาน่ากินคะ ขั้นตอนง่ายๆไม่ซับช้อนสามารถทำได้เองสบาย



วอฟเฟิลที่เสร็จสมบูรณ์


การนำไปประยุกต์ใช้ 
    สามารถนำวิธีการประกอบอาหารง่ายๆไปสอนให้กับเด็กปฐมวัยมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมเด็กเกิดการสังเกต การชั่งตวงวัด ทำให้เกดิความสนใจในการเรียนมากขึ้น


การประเมิน
     ประเมินตนเอง
        มีความพร้อมในการเรียน แต่งตัวเรียบร้อยถูกระเบียบ ตั้งใจฟังอาจารย์เป็นอย่างดี มีการแสดงความคิดเห็นร่วมกับอาจารย์  มีส่วนร่วมในกิจกรรม
     ประเมินเพื่อน
       เพื่อนตั้งใจเรียนเป็นอย่างดี มีส่วนร่วมในกิจกรรมในห้องเรียนเป็นอย่างดี
     ประเมินอาจารย์
       อาจารย์มีการเตรียมการสอนเป็นอย่างดี แต่งกายสุภาพเรียบร้อย





วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 13

บันทึกอนุทิน

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย(EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  13 พฤศจิกายน 2557
ครั้งที่ 13   กลุ่มเรียน 101

ความรู้ที่ได้รับ

การนำเสนอวิจัย
   เรื่องที่ 1 การส่งเสริมทักษะการสังเกต โดยใช้การจัดกิจกรรม เกมการศึกษา
      วัตถุประสงค์ 1. เพื่อใหน้กัเรียนมีทกัษะในการสังเกตสิ่งต่างๆไดด้ีข้ึน
                           2. เพื่อให้นักเรียนน าทักษะที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจ าวันได้
      เครื่งมือที่ใช้  1. เกมจบัคู่ภาพเหมือน
                           2. เกมจบัคู่ภาพกบั เงา
                           3. เกมภาพตดัต่อ
                           4. เกมสังเกตรายละเอียดของภาพ
      ทักษะทางวิทยาศาสตร์  การสังเกต
      ผลการวิจัย  เด็กมีทักษะการสังเกตสูงขึ้น

       วัตถุประสงค์ 1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กที่ได้รับการจัดกิจกรรม
      เครื่งมือที่ใช้  1. แผนการจัดกิจกรรมเล่านิทาน
                           2. กิจกรรมการทดลอง การจม การลอย
      ทักษะทางวิทยาศาสตร์  การสังเกต  การจำแนก การสื่อสาร
      ผลการวิจัย  - เด็กมีทักษะการสังเกตดีมาก
                          - เด็กมีทักษะการจำแนกอยู่ในระดับดี

     วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาผลของทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการ
จัดการเรียนรูปแบบเด็กนักวิจัย
 2. เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการ
เรียนรู้แบบเด็กนักวิจัย ก่อนทดลองและหลังทดลอง
      เครื่งมือที่ใช้  1. แผนการจัดการเรียนรูืแบบเด็กนักวิจัย
                           2. แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์สําหรับเด็กปฐมวย
      ทักษะทางวิทยาศาสตร์  
          •ทักษะการสังเกต
          •ทักษะการจําแนกประเภท
          •ทักษะการสื่อความหมายข้อมูล
          •ทักษะการลงความเห็น
          •ทักษะการพยากรณ์

      ผลการวิจัย  เด็กที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบนักวิจัยมีทักษะทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าเด็กปกติ

เรื่องที่ 4 ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จากสีธรรมชาตที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

 ทักษะทางวิทยาศาสตร์  
          •ทักษะการสังเกต
          •ทักษะการจําแนกประเภท
          •ทักษะมิติสัมพันธ์
          •ทักษะการลงความเห็น
        
           ทักษะทางวิทยาศาสตร์
               •ทักษะการจําแนกประเภท
               •ทักษะมิติสัมพันธ์
               •ทักษะการลงความเห็น
                •ทักษะการสังเกต
               •ทักษะการแสดงปริมาณ
          เครื่งมือที่ใช้
             - แบบทดสอบวทักษะพื้นฐานทางิทยาศาสตร์
             - แผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยเน้นกระบวนการซึ่่งผู้วิจัยสร้างขึ้นจำนวน 40 แผ่น

            วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้ก่อนทำกิจกรรม และหลังทำกิจกรรม
              ทักษะทางวิทยาศาสตร์  
                     การจำแนก
                     การบอกรายละเอียด
                     ความเหมือน ความต่าง
              ผลการวิจัย  เด็มีการคิดวิจารณญาณทั้งภาพรวมและรอบด้านสูงกว่าเด็กปกติ
           ทักษะทางวิทยาศาสตร์
               •ทักษะการจําแนกประเภท
          เครื่งมือที่ใช้
             - แบบทดสอบวัดความสามารถการคิดอย่างมีเหตุผล
             - แผนการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

การนำไปประยุกต์ใช้
  สามารถนำความรู้ที่ได้จากการการฟังวิจัยไปใช้ในการจัดกิจกรรมที่มีรูปแบบแตกต่างกันไปให้กับเด็กปฐมวัยได้ตรงตามจุดมุ่งหมายและเป็นการจัดการเรียนสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญมากที่สุด

เทคนิคการสอน 
    ทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง
    การสรุปความรู้ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง
    การบูรณาการวิทยาศาสตร์ให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัย

การประเมิน
     ประเมินตนเอง
        มีความพร้อมในการเรียน แต่งตัวเรียบร้อยถูกระเบียบ ตั้งใจฟังอาจารย์เป็นอย่างดี มีการแสดงความคิดเห็นร่วมกับอาจารย์
     ประเมินเพื่อน
       เพื่อนตั้งใจเรียนเป็นอย่างดี มีการเตรียมการนำเสนอวิจัยเป็นอย่างดี
     ประเมินอาจารย์
       อาจารย์มีการเตรียมการสอนเป็นอย่างดี แต่งกายสุภาพเรียบร้อย



วันเสาร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 12

บันทึกอนุทิน

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย(EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 6  พฤศจิกายน 2557
ครั้งที่ 12   กลุ่มเรียน 101


ความรู้ที่ได้รับ
    วันนี้แต่ละกลุ่มส่งตัวแทนออกมานำเสนอแผนการสอน กิจกรรมเสริมประสบการณ์ หน่วยต่างๆที่ได้รับมอบหมาย โดยมี
   วันที่ 1 สอนเรื่องชนิด 
   วันที่ 2 สอนเรื่องลักษณะ 
   วันที่ 3 สอนเรื่องการดูแลหรือการดำรงชีวต 
   วันที่ 4 สอนเรื่องประโยชน์และข้อพึงระวัง
   วันที่ 5 สอนเรื่องการประกอบอาหาร

กลุ่มที่ 1 หน่วย กล้วย (ชนิด)
   

คำแนะนำของอาจารย์  ควรนำสื่องของจริงมาใช้แทนรูปภาพเพื่อให้เด็กได้สังเกตเห็นได้ชัดเจนขึ้น

กลุ่มที่ 2 หน่วย ไก่ (ลักษณะ) 


   คำแนะนำของอาจารย์ 
       การสอนส่วนประกอบของไก่ไม่ควรเขียนมาก่อน ควรเติมคำ พร้อมๆกับการสอน เพราะจะทำให้เด็กได้คิด ค้นหาคำตอบด้วยตนเอง และเรื่องดผนภูมิวงกลมควรเขียนในสิ่งที่เหมือนกันก่อนแล้วจึงเขียนในส่วนที่ต่างกัน


กลุ่มที่ 3 หน่วย กบ (การดำรงชีวิต) 



    คำแนะนำของอาจารย์  สื่อที่ใช้ในการสอนควรมีขนาดใหญ่ ควรพูดให้เสียงดังฟังชัด

กลุ่มที่ 4 หน่วย ปลา (ประโยชน์และข้อพึงระวัง)


 คำแนะนำของอาจารย์  นิทานบางประโยคควรมีการเล่านที่แตกต่าง ไม่เล่าใช้คำซ้ำกัน

กลุ่มที่ 5 หน่วย ข้าว (การประกอบอาหาร)


คำแนะนำของอาจารย์  ควรเตรียมวัตถุดิบต่างๆมาให้พร้อม การหั่นส่วนประกอบต่างๆเตรียมไว้ก่อน เมื่อถึงเวลาสอนให้เด็กได้สังเกตจากของจริง และให้เด็กมีส่วนร่วมในการหยิบวัตถุดิบต่างๆทั้งหมด เพื่อให้เด็กรู้จักสังเกต คาดคะเนสิ่งที่จะใส่ลงไป

กลุ่มที่ 6 หน่วย ต้นไม้ (ชนิด)

คำแนะนำของอาจารย์   ควรปรับปรุงสื่อการสอนที่ความชัดเจนยิ่งขึ้น เพราะเด็กไม่สมารถแยกออกได้จากภาพที่เล็กเกินไป

กลุ่มที่ 7 หน่วย นม (ลักษณะ)

คำแนะนำของอาจารย์  ควรนำสื่อของจริงหลากหลายชนิดเพื่อให้เด็กสังเกตข้อแตกต่างของแต่ละชนิด

กลุ่มที่ 8 หน่วย น้ำ (การดูแล)


   การสอนมีร้องเพลงอย่าทิ้ง จากนั้นครูเล่านิทานเกี่ยวกับการอนุรักษ์น้ำให้เด็กฟัง ครูควรใช้คำถามปลายเปิดเพื่อให้เด็กได้แสดงความคิดเห็นของตนเอง

กลุ่มที่ 9 หน่วย มะพร้าว (ประโยชน์และข้อพึงระวัง)


คำแนะนำของอาจารย์ เปลี่ยนจาการนำภาพให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริงหรืใช้การเรียนรู้นอกสถานที่

กลุ่มที่ 10 หน่วย ผลไม้ (การประกอบอาหาร)
   
คำแนะนำของอาจารย์  การสอนให้เด็กมีส่วนร่วมดีแต่ครูควรแก้ปัญหาเมื่อยืนมุงกันทำให้คนอืนไม่เห็น


เทคนิคการสอน
       การใช้คำถามปลายเปิดให้เด็กมีส่วยร่วมในการตอบคำถาม เพื่อกระตุ้นให้เด้กได้คิดแก้ไขปัญหา การเรียนรู้ด้วยตนเอง  การแลกเปลี่ยนความคิดซึ่งกันและกัน

การประเมิน
     ประเมินตนเอง
        มีความพร้อมในการเรียน แต่งตัวเรียบร้อยถูกระเบียบ ตั้งใจฟังอาจารย์เป็นอย่างดี มีการแสดงความคิดเห็นร่วมกับอาจารย์
     ประเมินเพื่อน
       เพื่อนตั้งใจเรียนเป็นอย่างดี มีการเตรียมการนำเสนอแผนการสอนเป็นอย่างดี
     ประเมินอาจารย์
       อาจารย์มีการเตรียมการสอนเป็นอย่างดี แต่งกายสุภาพเรียบร้อย

วันอังคารที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

สรุปวิจัย


งานวิจัย เรื่องการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

                            โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ  
  
ผู้วิจัย เอราวรรณ ศรีจักร
 ความสำคัญและความเป็นมาของงานวิจัย
ประเด็นที่1     วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งในสังคมโลกปัจจุบันและอนาคต
ประเด็นที่2     วิทยาศาสตร์เป็นวัฒนธรรมของโลกสมัยใหม่ซึ่งเป็นสังคมแห่งความรู้ (Knowledge basedsociety) คนทุกคนจึงจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้รู้วิทยาศาสตร์ 
ประเด็นที่3     การเรียนวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนการแก้ปัญหาอย่างมีเหตุผล ซึ่งเรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เด็กปฐมวัยสามารถเรียนรู้กระบวนการวิทยาศาสตร์ได้ โดยครูใช้ประสบการณ์การคิดและปฏิบัติ
ประเด็นที่4      เด็กปฐมวัยอายุระหว่าง 4 - 5 ปีมีลักษณะเฉพาะตัว คือ มีความเชื่อว่า ทุกอย่างมีชีวิต(animism) มีความรู้สึกและเชื่อว่าทุกสิ่งในโลกมีจุดมุ่งหมาย (purposivism) และชอบตั้งคำถามโดยใช้คำว่า “ทำไม”
ประเด็นที่5    การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยนั้นจะมาจากการใช้ประสาทสัมผัส (Sensory Motor) เป็นหลักการเรียนรู้(Piaget. 1969) สื่อสำหรับเด็กในการเรียนรู้มีหลายชนิด สื่อแต่ละชนิดสามารถปรับใช้ได้กับหลายจุดประสงค์
ประเด็นที่6   แบบฝึกทักษะเป็นเอกสารที่สร้างขึ้นเพื่อฝึกให้เด็กได้เตรียมความพร้อมด้านสติปัญญาและทักษะต่างๆ มีรูปแบบ วิธีการ ที่มีแบบแผน กฎเกณฑ์ โดยมีคำสั่งของแต่ละกิจกรรมตามเนื้อหาจุดประสงค์ของแบบฝึกแต่ละเล่ม ซึ่งเป็นแบบฝึกเกี่ยวกับภาพ ครูจะใช้ประกอบขณะเด็กทำกิจกรรมหรือตอนสรุปการเรียน

ความมุ่งหมายของการวิจัย  ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ตั้งความมุ่งหมายไว้ ดังนี้
    1. เพื่อศึกษาระดับทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวมและจำแนกรายทักษะ หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ
    2. เพื่อเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นข้อมูลพื้นฐานเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
ใช้เป็นแนวทางในการใช้แบบฝึกทักษะประกอบการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการ     วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และเป็นแนวทางสำหรับครูในการพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้สื่อที่เป็นแบบฝึกทักษะหรือสื่ออื่นๆ แก่เด็กปฐมวัยให้เป็นไปตามจุดประสงค์ของการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ

ขอบเขตของการศึกษาวิจัย
ตัวแปรในการวิจัย     ตัวเเปรอิสระ/ตัวเเปรต้น คือ  กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์
    ตัวเเปรตาม/ตัวจัดกระทำ ได้เเก่ ทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ 4 ด้าน คือ
                      1. สังเกต
                      2. จำเเนกประเภท
                      3. สื่อสาร
                      4. การลงความเห็น

สมมุติฐานการวิจัย    เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ มีการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกัน
ประชากร  ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนชาย - หญิงที่มีอายุระหว่าง 4-5 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้น อนุบาลศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนอนุบาลธนินทรเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เขตพื้นที่การศึกษา 2
วิธีดำเนินการวิจัยการเลือกกลุ่มตัวอย่าง  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชาย - หญิงที่มีอายุระหว่าง 4 - 5 ปี ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ชั้น อนุบาลศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนอนุบาลธนินทรเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร เขตพื้นที่การศึกษา 2 ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย โดยการจับสลากเลือกจำนวน 1 ห้องเรียน จากจำนวน 2 ห้องเรียน และผู้วิจัยสุ่มนักเรียนเข้ากลุ่มทดลองจำนวน 15 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้ง นี้มีดังนี้1.ชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ โดยใช้สมองเป็นฐานการเรียนรู้ (Brain -Based Learning) ของ รศ.ดร.กุลยา ตันติผลาชีวะ2. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สาระตามชุดแบบฝึกทักษะ3. แบบประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์
การดำเนินการวิจัยการวิจัยครั้งนี้ ดำเนินการศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 เป็นเวลา 10สัปดาห์ โดยแบ่งเป็นสัปดาห์ในการประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ 2 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 วัน คือ วันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ และวันศุกร์ ในช่วงเวลา 08.00 - 11.30 น. ในการประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ ใช้สัปดาห์ที่ 1 และสัปดาห์ที่ 10 ระยะเวลาในการประเมินจากเด็กจำนวน 15 คน ใช้เวลาในการทำแบบประเมินคนละ 5 ข้อ ข้อละ 2 นาที รวม10 นาที ต่อเด็ก 1 คน การประเมินในแต่ละวันให้เด็กทำตามการจำแนกรายด้านดังนี้                       วันจันทร์ ชุดที่ 1 การสังเกต 5 ข้อ                       วันอังคาร ชุดที่ 2 การจำแนกประเภท 5 ข้อ                       วันพุธ ชุดที่ 3 การสื่อสาร 5 ข้อ                       วันศุกร์ ชุดที่ 4 การลงความเห็น 5 ข้อ  สำหรับระยะเวลาในการทดลองใช้ 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน คือวันจันทร์วันพุธ และวันศุกร์ วันละ 30 นาที รวม 24 ครั้ง ทำการทดลองในช่วงเวลา 09.00 - 09.30 น.โดยมีขั้น ตอนดังนี้1.จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมเพื่อประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์2.ผู้วิจัยทำการประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย (Pretest)ก่อนการทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง เป็นเวลา 4 วัน และบันทึกผลของข้อมูลในแต่ละข้อของเด็กแต่ละคนเพื่อนำมาตรวจให้คะแนนตามเกณฑ์และเก็บเป็นคะแนนข้อมูลพื้นฐานชุดที่ 13.ผู้วิจัยดำเนินการทดลองในกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ ในระยะเวลาระหว่าง 09.00 - 09.30 น. ของวันจันทร์ วันพุธ และวันศุกร์ ตั้งแต่วันที่ 18 มิถุนายน 2550ถึงวันที่ 10 สิงหาคม 2550 ผู้วิจัยดำเนินขั้นตอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ตามตาราง 3ดังนี้
การวิเคราะห์ข้อมูลการวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ ดังนี้1. หาค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน2. วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยก่อนและหลัง การใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ เพื่อศึกษาการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยทั้งภาพรวมและจำแนกรายทักษะ โดยใช้ค่าแจกแจง แบบDependent Samples
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล1. หาความเที่ยงตรงของแบบประเมินโดยใช้ดัชนีความสอดคล้องระหว่างจุดประสงค์กับพฤติกรรม (พวงรัตน์ ทวีรัตน์. 2543 : 117) ดังนี้2. หาค่าความยากง่าย (Difficulty) ของแบบประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็ก3. การหาค่าอำนาจจำแนกโดยใช้ค่าสหสัมพันธ์แบบพอยท์ - ไบซีเรียล (Point biserial correlation)4.  หาค่าความเชื่อมัน่ ของแบบประเมินทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของด็กปฐมวัย โดยใช้สูตร KR - 20 ของคูเดอร์ - ริชาร์ดสัน (Kuder - Richardson)
สรุปผลการวิจัย1. พัฒนาการทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยรวม หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะอยู่ในระดับดีมากและจำแนกรายทักษะ อยู่ในระดับดีมาก 3 ทักษะคือ ทักษะการสังเกต ทักษะการสื่อสาร และทักษะการลงความเห็น และอยู่ในระดับดี 1 ทักษะ คือทักษะการจำแนกประเภท2. พัฒนาการทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย หลังการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะสูงขึ้นกว่าก่อนการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
ข้อเสนอแนะ
     1. วิธีการเลือกชุดแบบฝึกทักษะ ควรพิจารณารูปภาพประกอบที่ดูเข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อนเป็นภาพขนาดใหญ่ และภาพในหน้าด้านซ้ายกับด้านขวาของชุดแบบฝึกทักษะ ไม่ควรเป็นภาพเดียวกัน ซึ่งมีคำชี้แจงหรือคำสั่งที่แตกต่างกัน เพราะจะทำให้เด็กสับสน เนื่องจากเด็กวัย 4 - 5 ปีบางคน ยังไม่รู้จักตัวเลขที่ระบุอยู่บนหน้ากระดาษของแบบฝึกทักษะ
     2.ศึกษาชุดแบบฝึกทักษะเพื่อกำหนดหัวเรื่องตามมโนทัศน์ของแต่ละแบบฝึกทักษะที่จะนำมาจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ชัดเจนก่อนการเขียนแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์
     3. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะตามการวิจัยนี้ครูควรให้ความสำคัญในการวางแผนการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับชุดแบบฝึกทักษะวิทยาศาสตร์ที่กำหนดไว้ทั้งเนื้อหาสาระและพัฒนาการเด็ก
     4. ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะตามการวิจัย ครูจำเป็นต้องคิดและวางแผนการจัดกิจกรรมให้สอดคล้องกับอายุและสิ่งที่เด็กควรรู้ตามหลักสูตรการศึกษาอย่างหลากหลาย โดยจัดอย่างเหมาะสมกับบริบททางสังคมของเด็ก และใช้แบบฝึกทักษะเป็นตัวทบทวนหรือย้ำการเรียนรู้
     5. การจัดเตรียมสื่อและอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบชุดแบบฝึกทักษะต้องมีจำนวนเพียงพอกับจำนวนเด็กที่ทำกิจกรรม ซึ่งมีคำอธิบายในแต่ละเรื่องของแบบฝึกทักษะที่กำหนดไว้ให้เป็นต้นแบบแล้ว โดยเฉพาะสื่อของจริงมีความหลากหลายทางด้านรายละเอียดรูปร่าง รูปทรง ผิวสัมผัส กลิ่น สี รสชาติ ซึ่งจะมีผลเกี่ยวกับการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยเป็นอย่างดี
     6. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ประกอบชุดแบบฝึกทักษะ ครูต้องจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อให้เด็กเรียนรู้อย่างหลากหลาย โดยจัดให้เด็กได้ลงมือกระทำด้วยความคิด แสดงออก การทำกิจกรรมกลุ่ม ได้ค้นพบความรู้ด้วยตนเอง และรู้ความก้าวหน้าของตนเอง