บันทึกอนุทิน
วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย(EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน จินตนา สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี 4 กันยายน 2557
วัน/เดือน/ปี 4 กันยายน 2557
ครั้งที่ 3 กลุ่มเรียน 101
ความรู้ที่ได้รับ
รูปแบบการเรียนรู้เด็กปฐมวัย
- คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3-5 ปี ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2546 มีดังนี้
ขั้นที่ 1 เสียงกระดิ่ง (CS) ไม่มีน้ำลาย ผงเนื้อ (UCS) น้ำลายไหล (UCR)
ขั้นที่ 2 เสียงกระดิ่ง น้ำลายไหล (UCR) และผงเนื้อ (UCS) ทำขั้นที่ 2 ซ้ำกันหลาย ๆ ครั้ง
ขั้นที่ 3 เสียงกระดิ่ง (CS) น้ำลายไหล (CR)
2. การฟื้นกลับหรือการคืนสภาพ ( Spontaneous Recovery )
3. การแผ่ขยาย หรือ การสรุปความ (Generalization)
4. การจำแนกความแตกต่าง (Discrimination)
เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกิดจากการ เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าตามธรรมชาติ และสิ่งเร้าที่ วางเงื่อนไขกับการตอบ สนองซึ่งพฤติกรรมหรือการตอบสนอง ที่เกี่ยวข้องมักจะเป็นพฤติกรรมที่เป็น ปฏิกิริยาสะท้อน(Reflex)หรือ พฤติกรรมที่เกี่ยวข้อง กับอารมณ์ ความรู้สึก
ความรู้ที่ได้รับ
รูปแบบการเรียนรู้เด็กปฐมวัย
- คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3-5 ปี ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2546 มีดังนี้
- ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย(อายุ3-5ปี)Nature of early chilghood
- ทฤษฎีการเรียนรู้
พาฟลอฟ
(Pavlov) ผู้ริเริ่มทฤษฎีเชื่อว่า การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการวางเงื่อนไข
การตอบสนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นต่อสิ่งเร้านั้น
ต้องมีเงื่อนไขหรือมีการสร้างสถานการณ์ให้เกิดขึ้น
เช่นการที่เห็นมะม่วงแล้วน้ำลายไหลพฤติกรรมการ
ตอบสนองในการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกเป็น พฤติกรรมที่เกิดขึ้นเองตาม ธรรมชาติ
เมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นตาม ธรรมชาติเหล่านี้ เรียกว่า
พฤติกรรมตอบสนอง หรือพฤติกรรมที่เป็นไปโดยไม่ตั้งใจโดยในช่วงเริ่ม
ต้นพาฟลอฟสังเกตเห็นพฤติกรรมของสุนัขที่ น้ำลายไหลเมื่อเห็นอาหารและได้เริ่มทำ
การศึกษาทดลอง
การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ ก่อนการวางเงื่อนไข ระหว่างการวางเงื่อนไข และหลังการวางเงื่อนไข
ขั้นที่ 1 เสียงกระดิ่ง (CS) ไม่มีน้ำลาย ผงเนื้อ (UCS) น้ำลายไหล (UCR)
ขั้นที่ 2 เสียงกระดิ่ง น้ำลายไหล (UCR) และผงเนื้อ (UCS) ทำขั้นที่ 2 ซ้ำกันหลาย ๆ ครั้ง
ขั้นที่ 3 เสียงกระดิ่ง (CS) น้ำลายไหล (CR)
ผลจากการทดลองพาฟลอฟ Pavlov สรุปหลักเกณฑ์ของการเรียนรู้ได้ 4 ประการ คือ
1. การดับสูญหรือการลดภาวะ (Extinction) 2. การฟื้นกลับหรือการคืนสภาพ ( Spontaneous Recovery )
3. การแผ่ขยาย หรือ การสรุปความ (Generalization)
4. การจำแนกความแตกต่าง (Discrimination)
ลักษณะของทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
การตอบสนองเกิดจากสิ่งเร้าหรือสิ่งเร้า เป็นตัวดึงการตอบสนองมาเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกิดจากการ เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าตามธรรมชาติ และสิ่งเร้าที่ วางเงื่อนไขกับการตอบ สนองซึ่งพฤติกรรมหรือการตอบสนอง ที่เกี่ยวข้องมักจะเป็นพฤติกรรมที่เป็น ปฏิกิริยาสะท้อน(Reflex)หรือ พฤติกรรมที่เกี่ยวข้อง กับอารมณ์ ความรู้สึก
สรุปได้ว่า
การเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข แบบคลาสสิคคือการตอบสนองที่เป็น ไปโดยอัตโนมัติเมื่อนำสิ่งเร้าใหม่มาควบ คู่กับสิ่งเร้าเดิมซึ่งนักจิตวิทยาเรียก พฤติกรรมการตอบสนองนี้ว่า พฤติกรรมเรสปอนเด้นท์ ในภายหลังวัตสัน (Watson) ได้นำเอาแนวคิดของพาฟลอฟไป ดัดแปลงแก้ไขให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
การนำหลักการทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคมาประยุกต์ใช้ในการสอน
1. ครูสามารถนำหลักการเรียนรู้ของทฤษฎีนี้มาทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนที่แสดงออกถึงอารมณ์ ความรู้สึกทั้งด้านดีและไม่ดี รวมทั้งเจตคติต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่นวิชาที่เรียนกิจกรรมหรือครูผู้สอนเพราะเขาอาจได้รับการวางเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ก็เป็นได้
2. ครูควรใช้หลักการเรียนรู้จากทฤษฎี ปลูกฝังความรู้สึกและเจตคติที่ดีต่อ เนื้อหาวิชา กิจกรรมนักเรียน ครูผู้สอนและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้เกิดในตัวผู้เรียน
3. ครูนำทฤษฎีไปสร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียนการสอน อันเป็นการวางเงื่อนไขที่ดี ครูสามารถวางตัวให้ผู้เรียนเกิดความศรัทธา เป็นกันเอง และอบอุ่น จัดสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาเพื่อกระตุ้น
ให้ผู้เรียนรักสถาบันศึกษาได้
- นักการศึกษาและแนวคิด
- การเรียนรู้อย่างมีความสุข
- สรุปหลักการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
พัฒนาเด็กให้ครบทุกพัฒนาการ เน้นให้เด็กช่วยเหลือตนเองและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข กิจกรรมที่จัดต้องมีความสมดุลยึดเด็กเป็นสำคัญและต้องประสานสัมพันธ์กับครอบครัวและชุมชน
เนื้อหาที่นำเสนอควรมีอ้างอิงว่าเอามาจากที่ใดใครเขียนนะคะ ส่วนอื่นๆทำได้ดีแล้วคะ ใช้คำศัพท์ภาษาอังกฤษมากๆหน่อยนะคะ
ตอบลบ