วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

สรุปบทความ

สรุปบทความ

   
สอนลูกเรื่องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม 
(Teaching Children about Environment Conservation)
ผู้เขียน: ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุบผา เรืองรอง อาจารย์ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช



   สอนลูกเรื่องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม หมายถึง การจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้เกี่ยวกับการใช้สิ่งต่างๆที่อยู่รอบๆตัวของคนเราอย่างฉลาด และพัฒนาสิ่งแวดล้อมทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตจับต้องได้และจับต้องไม่ได้ เช่น สัตว์ พืช อากาศ ภูเขา ฯลฯ สิ่งเหล่านี้จะมีอิทธิพลและส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็น อยู่ของคนเรา เพราะการดำรงชีวิตของคนต้องพึ่งสิ่งแวดล้อมมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและต่อเนื่องไปถึงอนาคต การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยวิธีการให้ความรู้ ปลูกฝังทัศนคติที่ดี และเน้นการปฏิบัติร่วมกันทั้งสังคมโดยเริ่มตั้งแต่วัยเด็ก
  การสอนเรื่องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมีความสำคัญดังนี้
       หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546 จึงให้ความสำคัญเรื่องการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม น้ำ และอากาศ โดยกำ หนดไว้ในจุดมุ่งหมายว่ามุ่งให้เด็กมีพัฒนาการทุกด้านอย่างดี และกำหนดเป็นมาตรฐานคุณลักษณะที่พึงประสงค์ไว้ข้อหนึ่งคือ ให้เด็กรักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมและความเป็นไทย และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ที่ได้เสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย ตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 โดยกำ หนดสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามมาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐานคือสาระที่ 3 : สารและสมบัติของสาร มาตรฐาน ว 3.1: เข้าใจสมบัติของสาร ความสัมพันธ์ระหว่างสมบัติของสารกับโครงสร้าง และแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคมีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นปฐมวัย 6. สำรวจสมบัติทางกายภาพและบอกประโยชน์และโทษของสิ่งต่างๆในชีวิตประจำวัน ตัวชี้วัด   บรรยายลักษณะและส่วนประกอบของสิ่งต่างๆรอบตัวจากการสังเกตโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 และสามารถจัดหมวด หมู่โดยใช้เกณฑ์ของตนเองได้   สืบค้นข้อมูลโดยใช้คำถามและอภิปรายเกี่ยวกับประโยชน์และโทษจากการใช้สิ่งต่างๆ    

การสอนเรื่องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมีประโยชน์ดังนี้
  -   เด็กจะมีความรู้เรื่องการรักษาทรัพยากรที่จำเป็นต่อชีวิต การให้ความรู้แก่เด็กควบคู่กับการฝึกนิสัยที่ดีจะช่วยให้เด็กรู้และเข้าใจเรื่องของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ไม่ยาก ข้อความรู้ที่เลือกให้เหมาะกับวัยของเด็ก 
  -  เด็กจะเกิดความสำนึกและตระหนักถึงคุณค่าของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม การอบรมสั่งสอนจะช่วยพัฒนาจิตใจของเด็กให้เป็นอ่อนโยน รู้จักอยู่ร่วมและรักผู้อื่น
  -  เด็กจะรู้จักใช้สิ่งแวดล้อมอย่างถูกวิธี ซึ่งมีผลให้สิ่งแวดล้อมจะมีปริมาณเพียงพอและคงคุณภาพอย่างดีไว้สำหรับคน พืช สัตว์ได้ใช้ดำรงชีวิต

สิ่งที่ครูและผู้ปกครองจะสอนเรื่องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม    
   - การเรียนรู้เรื่องอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของเด็กจะเกิดขึ้นได้ผลอย่างยั่งยืน เพราะสภาพแวดล้อมในโรงเรียนเป็นธรรม ชาติให้เด็กได้สัมผัส ให้เด็กได้เห็นได้กลิ่นได้รู้จักสิ่งที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมนั้น เช่น อากาศ ลำธาร เป็นต้น และสภาพภายนอกห้องเรียนจะมีระบบนิเวศที่เด็กพบเห็นได้เสมอ    - จัดประสบการณ์ตรงให้แก่เด็ก เช่น การใช้น้ำอย่างประหยัด การดูแลต้นไม้ การกำจัดขยะ การลดขยะ การใช้ขยะให้เกิดประโยชน์ การรักษาอากาศให้สะอาด การเลือกกินอาหารจากพืชเพื่อให้เห็นคุณค่าของธรรมชาติ




ครั้งที่5

บันทึกอนุทิน

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย(EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  18 กันยายน 2557
ครั้งที่ 5   กลุ่มเรียน 101


ความรู้ที่ได้รับ
   กิจกรรมในห้องเรียน
        อาจารย์ได้แจกกระดาษA4 1 แผ่นแล้วแบ่งเป็น 4 ส่วน และวาดภาพให้มีความสัมพันธ์กันซึ่งดิฉันวาดภาพแมวกับบ้านของแมว แล้วนำไม้มาวางทาบไว้บนกระดาษด้านใดด้านหนึ่งแล้วประกบกระดาษเข้าหากันแล้วทำการหมุน จะได้ภาพแมวอยู่ในบ้าน


       ซึ่งจากการประดิษฐ์นี้เป็นสิ่งที่เด็กปฐมวัยจะช่วยในการส่งเสริมดังนี้
           -  เป็นการเสริมพัฒนาการด้านการคิด จินตนาการ ผ่านประสบการณ์ของเด็กแต่ละคน
            -  กระบวนการเล่นเป็นสิ่งกระตุ้นระบบประสาทสัมผัสทุกส่วนของเด็ก เช่น การสัมผัส การมองเห็น การได้ยิน การเล่นยังมีผลดีมากต่อการพัฒนาการของกล้ามเนื้อ และการทำงานของระบบกล้ามเหล่านั้น จะช่วยกระตุ้นพัฒนาการทางประสาทสัมผัสทั้ง 5
           - การเล่นที่ให้ความสนุกสนาน เพลิดเพลิน บันเทิง กระตุ้นการเรียนรู้ ท้าทาย จะเป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับเด็ก
  
  การนำเสนอบทความ เรื่องที่ 1 เด็กๆอนุบาลสนุกกับสเต็มศึกษาปฐมวัย
ข้อมูลเพิ่มเติม เด็กๆอนุบาลสนุกกับสเต็มศึกษาปฐมวัย
  การนำเสนอบทความ เรื่องที่ 2 โลกของเราอยู่ได้อย่างไร
  การนำเสนอบทความ เรื่องที่ 3 บ้านฉันเป็นค่ายวิทยาศาสตร์

องค์ความรู้ที่ได้รับจากการดูVDO

ความลับของแสง
   แสงคือ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic wave) ประเภทหนึ่ง ซึ่งอยู่ในช่วงความยาวคลื่นที่สายตามนุษย์มองเห็น หรือบางครั้งอาจรวมถึงการแผ่รังสีแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความยาวคลื่นตั้งแต่รังสีอินฟราเรด (Infrared) ถึงรังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) ด้วย

คุณสมบัติของแสง
  •   การเดินทางเป็นเส้นตรง (Rectilinear propagation)
  •   การหักเห (Refraction) 
  •   การสะท้อน (Reflection)
  •   การกระจาย (Dispersion)
จำแนกวัตถุตามการส่องผ่านของแสงได้ดังนี้

  • วัตถุโปร่งใส   คือวัตถุที่ยอมให้แสงส่องทะลุผ่านได้โดยง่าย
  • วัตถุโปร่งแสง คือวัตถุที่ยอมให้แสงผ่านไปได้เพียงบางส่วน
  • วัตถุทึบแสง    คือวัตถุที่ไม่ยอมให้แสงผ่านไปได้เลย
การสะท้อนของแสง (Reflection)
    เป็นปรากฏการณ์ที่แสงเดินทางจากตัวกลางที่มีความหนาแน่นค่าหนึ่งมายังตัวกลางที่มีค่าความหนาแน่นอีกตัวหนึ่ง ทำให้แสงตกกระทบกับตัวกลางใหม่ แล้วสะท้อนกลับสู่ตัวเดิม
กฎการสะท้อนของแสง (The Laws of Reflection) มี 2 ข้อ ดังนี้
  • รังสีตกกระทบ รังสีสะท้อน และเส้นปกติจะอยู่ในระนาบเดียวกัน
  • มุมตกกระทบเท่ากับมุมสะท้อน 
การหักเหของแสง (Refraction of Light)
เมื่อแสงเดินทางผ่านวัตถุหรือตัวกลางโปร่งใส เช่น อากาศ แก้ว น้ำ พลาสติกใส แสงจะสามารถเดินทางผ่านได้เกือบหมด เมื่อแสงเดินทางผ่านตัวกลางชนิดเดียวกัน แสงจะเดินทางเป็นเส้นตรงเสมอ แต่ถ้าแสงเดินทางผ่านตัวกลางหลายตัวกลาง แสงจะหักเห
สรุป 
     คุณสมบัติต่างๆของแสงแต่ละคุณสมบัตินั้น เราสามารถนำหลักการมาใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น คุณสมบัติของการสะท้อนแสงของวัตถุ เรานำมาใช้ในการออกแบบแผ่นสะท้อนแสงของโคมไฟ การหักเหของแสงนำมาออกแบบแผ่นปิดหน้าโคมไฟ ซึ่งเป็นกระจก หรือพลาสติกเพื่อบังคับทิศทางของแสงไฟที่ออกจากโคมไฟไปในทิศทางที่ต้องการ


ข้อมูลเพิ่มเติม  แสงและการมองเห็น

การประยุกต์ใช้
   ทักษะการใช้ความปลายเปิด ทักษะการใช้สื่อเทคโนโลยี  และทักษะการตอบคำถามที่ได้จากการวิเคราะห์ ซึ่งทักษะเหล่านี้เป็นการให้เด็กค้นหาคำตอบด้วยตนเองและหาคำตอบร่วมกับเพือนเป็นการฝึกสมองในการคิดและแก้ไขปัญหาต่างๆได้อย่างเป็นระบบ สามารถคิดวิเคราะห์ในสิ่งที่พบเจอได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคตต่อไป

การประเมิน
     ประเมินตนเอง
        มีความพร้อมในการเรียน แต่งตัวเรียบร้อยถูกระเบียบ ตั้งใจฟังอาจารย์เป็นอย่างดี มีการแสดงความคิดเห็นร่วมกับอาจารย์
     ประเมินเพื่อน
       เพื่อนตั้งใจเรียนเป็นอย่างดี มีการแสดงความคิดเห็นร่วมกันในชั้นเรียน
     ประเมินอาจารย์
       อาจารย์มีการเตรียมการสอนเป็นอย่างดี แต่งกายสุภาพเรียบร้อย

   

วันเสาร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 4

บันทึกอนุทิน

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย(EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  11 กันยายน 2557
ครั้งที่ 4   กลุ่มเรียน 101


ความรู้ที่ได้รับ

การนำเสนอบทความ เรื่องที่ 1 หลักสูตรวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
ข้อมูลเพิ่มเติม หลักสูตรวิทยาศาตร์
การนำเสนอบทความ เรื่องที่ 2 5แนวการสอนคิดเติมวิทย์ให้เด็กอนุบาล
ข้อมูลเพิ่มเติม 5แนวการสอนเติมวิทย์ให้เด็กอนุบาล
การนำเสนอบทความ เรื่องที่ 3 สอนลูกเรื่องภาวะโลกร้อน
ข้อมูลเพิ่มเติมการสอนลูกเรื่องภาวะโลกร้อน
การนำเสนอบทความ เรื่องที่ 4 โครงการบ้านนักวิทยาศานตร์น้อย
ข้อมูลเพิ่มเติมโครงการบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย ประเทศไทย


หลังจากนั้นได้เรียนในหัวข้อ ทักษะวิทยาศาสตร์เพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย
แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
 - การเปลี่ยนแปลง (Changes)  ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกมีการเลี่ยนแปลง
 - ความแตกต่าง(Difference)    ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มีความแตกต่าง
 - การปรับตัว(Adaptation)         มนุษย์ต้องมีการปรับตัวเพื่อการอยู่รอด
 - การพึ่งพาอาศัยกัน(Dependerce)
 - ความสมดุล(Balance)

การศึกษาวิธีทางวิทยาศาสตร์
1.กำหนดปัญหา
2.ตั้งสมมุติฐาน
3.รวบรวมข้อมูล
4.ลงข้อสรุป

เจตคติทางวิทยาศาสตร์
1.ความอยากรู้อยากเห็น(Curious)
2.ความเพียรพยายาม(Effort)
3.ความมีเหตุผล(Rationality)
4.ความซื่อสัตย์(Honesty)
5.ความมีระเบียบวนัย(Cautious)
6.ความใจกว้าง(Generous)

ความสำคัญของวิทยาศาสตร์
- ตอบสนองความต้องการตามวัยของเด็ก
- พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
- เสริมสร้างประสบการณ์

ประโยชน์ของวิทยาศาสตร์
- พัฒนาความคดรวบยอดพื้นฐาน
- พัฒนาทักษะการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์
- สร้างความเชื่อมั่นในตนเอง
สรุปองค์ความรู้ทั้งหมด


ความรู้เพิ่มเติม
มาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (สสวท) คลิกที่นี่

เทคนิคการสอน
 การสอนแบบให้เด็กช่วยกันระดมความคิดหาคำตอบ เพื่อกระตุ้นในการคิดของเด็กอยู่ตลอดเวลา ทำให้เด็กเกิดความสนใจการเรียนมากขึ้น

การประยุกต์ใช้
  สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการขัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของเด็กไก้อย่างเป็นขั้นตอน ถูกต้องเหมาพสมตามพัฒนาการของเด็ก



วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2557

ครั้งที่ 3

บันทึกอนุทิน

วิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย(EAED3207)
อาจารย์ผู้สอน จินตนา  สุขสำราญ
วัน/เดือน/ปี  4 กันยายน 2557
ครั้งที่ 3   กลุ่มเรียน 101


ความรู้ที่ได้รับ

     รูปแบบการเรียนรู้เด็กปฐมวัย
         - คุณลักษณะตามวัยของเด็กอายุ 3-5 ปี ที่กำหนดไว้ในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พ.ศ.2546 มีดังนี้



       - ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย(อายุ3-5ปี)Nature of early chilghood


        - ทฤษฎีการเรียนรู้
              พาฟลอฟ (Pavlov) ผู้ริเริ่มทฤษฎีเชื่อว่า การเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการวางเงื่อนไข การตอบสนองหรือการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นต่อสิ่งเร้านั้น ต้องมีเงื่อนไขหรือมีการสร้างสถานการณ์ให้เกิดขึ้น เช่นการที่เห็นมะม่วงแล้วน้ำลายไหลพฤติกรรมการ ตอบสนองในการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกเป็น พฤติกรรมที่เกิดขึ้นเองตาม ธรรมชาติ เมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นตาม ธรรมชาติเหล่านี้ เรียกว่า พฤติกรรมตอบสนอง หรือพฤติกรรมที่เป็นไปโดยไม่ตั้งใจโดยในช่วงเริ่ม ต้นพาฟลอฟสังเกตเห็นพฤติกรรมของสุนัขที่ น้ำลายไหลเมื่อเห็นอาหารและได้เริ่มทำ การศึกษาทดลอง


การทดลองแบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ ก่อนการวางเงื่อนไข ระหว่างการวางเงื่อนไข และหลังการวางเงื่อนไข 

   ขั้นที่ 1 เสียงกระดิ่ง (CS) ไม่มีน้ำลาย ผงเนื้อ (UCS) น้ำลายไหล (UCR)
   ขั้นที่ 2 เสียงกระดิ่ง น้ำลายไหล (UCR) และผงเนื้อ (UCS) ทำขั้นที่ 2 ซ้ำกันหลาย ๆ ครั้ง
   ขั้นที่ 3 เสียงกระดิ่ง (CS) น้ำลายไหล (CR) 


ผลจากการทดลองพาฟลอฟ Pavlov สรุปหลักเกณฑ์ของการเรียนรู้ได้ 4 ประการ คือ
1. การดับสูญหรือการลดภาวะ (Extinction) 
2. การฟื้นกลับหรือการคืนสภาพ ( Spontaneous Recovery ) 
3. การแผ่ขยาย หรือ การสรุปความ (Generalization) 
4. การจำแนกความแตกต่าง (Discrimination) 

ลักษณะของทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิค
   การตอบสนองเกิดจากสิ่งเร้าหรือสิ่งเร้า เป็นตัวดึงการตอบสนองมา
เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่เกิดจากการ เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าตามธรรมชาติ และสิ่งเร้าที่ วางเงื่อนไขกับการตอบ สนองซึ่งพฤติกรรมหรือการตอบสนอง ที่เกี่ยวข้องมักจะเป็นพฤติกรรมที่เป็น ปฏิกิริยาสะท้อน(Reflex)หรือ พฤติกรรมที่เกี่ยวข้อง กับอารมณ์ ความรู้สึก

สรุปได้ว่า 
    การเรียนรู้แบบวางเงื่อนไข แบบคลาสสิคคือการตอบสนองที่เป็น ไปโดยอัตโนมัติเมื่อนำสิ่งเร้าใหม่มาควบ คู่กับสิ่งเร้าเดิมซึ่งนักจิตวิทยาเรียก พฤติกรรมการตอบสนองนี้ว่า พฤติกรรมเรสปอนเด้นท์ ในภายหลังวัตสัน (Watson) ได้นำเอาแนวคิดของพาฟลอฟไป ดัดแปลงแก้ไขให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

การนำหลักการทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคมาประยุกต์ใช้ในการสอน
       1.  ครูสามารถนำหลักการเรียนรู้ของทฤษฎีนี้มาทำความเข้าใจพฤติกรรมของผู้เรียนที่แสดงออกถึงอารมณ์ ความรู้สึกทั้งด้านดีและไม่ดี รวมทั้งเจตคติต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ เช่นวิชาที่เรียนกิจกรรมหรือครูผู้สอนเพราะเขาอาจได้รับการวางเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ก็เป็นได้
       2. ครูควรใช้หลักการเรียนรู้จากทฤษฎี ปลูกฝังความรู้สึกและเจตคติที่ดีต่อ เนื้อหาวิชา กิจกรรมนักเรียน ครูผู้สอนและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้เกิดในตัวผู้เรียน
       3. ครูนำทฤษฎีไปสร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียนการสอน อันเป็นการวางเงื่อนไขที่ดี ครูสามารถวางตัวให้ผู้เรียนเกิดความศรัทธา เป็นกันเอง และอบอุ่น จัดสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษาเพื่อกระตุ้น
ให้ผู้เรียนรักสถาบันศึกษาได้

    - นักการศึกษาและแนวคิด


     - การเรียนรู้อย่างมีความสุข
     

    - สรุปหลักการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
          พัฒนาเด็กให้ครบทุกพัฒนาการ  เน้นให้เด็กช่วยเหลือตนเองและอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข กิจกรรมที่จัดต้องมีความสมดุลยึดเด็กเป็นสำคัญและต้องประสานสัมพันธ์กับครอบครัวและชุมชน